ปฏิทินเตือนจำ จ้า

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำตัว

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมวันครู 2553 อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

พานไหว้ครูสวยๆ

ทุกๆคนที่เกิดมาต้องมีครู แม้แต่คนที่เป็นครูอยู่ตอนนี้ก็ยังมีครูที่คอยสั่งสอนมาจนถึงทุกวันนี้
ฉะนั้นต้องไม่ลืมพระคุณครูนะคะ
มาดูพานไหว้ครูสวยๆกัน

วันครูแห่งชาติ 2553




ความหมาย

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้


การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น


ที่มา : http://www.wichachart.ac.th/mattayom/News/wankoo.htm
http://blog.eduzones.com/images/blog/jipatar/20090114224041.jpg
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/790/31790/images/11july1.gif

ภาพเทศกาลปีใหม่



ที่มา : http://picasaweb.google.com/neednaja/WXZDXG#

วัวน้อย



ที่มา : http://picasaweb.google.com/neednaja/UntitledAlbum#

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

เทศกาลปีใหม่ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร

งานเฉลิมฉลองปีใหม่ 2553
สสส.และภาคีเครือข่าย ผนึกกำลัง บุกยึดสนามหลวง
ฉลองชัย รณรงค์ในพื้นที่สนามหลวงปลอดจากเหล้า-เบียร์ได้สำเร็จ
ไม่มีลานเบียร์ เครื่องเล่นปาเป้าปิงโกยิงปืนปลอดจากของรางวัลที่เป็นเหล้าเบียร์
ถือเป็นงานเชิงโยบายที่ กทม. ริเริ่มและกำลังจะขยายผลในงานอื่นๆ ทั่วกรุง


งานฉลองเทศกาลปีใหม่ 2553 สนามหลวง 30 ธันวาคม 2552-9 มกราคม 2553 ณ บริเวณท้องสนามหลวงและพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
กทม.จัดงานปีใหม่ชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตร สักการะพระพุทธนวราชบพิตร ที่สนามหลวง พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย นั่งรถรางไหว้พระ 9 วัดกทม.กำหนดจัดงานเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่พี่น้องประชาชนชาว กทม.และนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2552-9 ม.ค.2553 บริเวณท้องสนามหลวงและพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย - 30 ธ.ค.52 -1 ม.ค. 53 อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร จากศาลาว่าการ กทม.ไปประดิษฐานบนมณฑป ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.-1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 52 ตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น. พบกับกิจกรรมการแสดงและมหรสพ ณ บริเวณท้องสนามหลวง ประกอบด้วย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย อาทิ การแสดงโขน ชุดรามราชจักรี และละครนอกจากกรมศิลปากร ลิเกคณะบุญเลิศ ศิษย์หอมหวล ดนตรีลูกทุ่ง ลานการละเล่นย้อนยุคสำหรับเด็ก การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และซุ้มอาหารจาก 50 สำนักงานเขต การจับสลากชิงรางวัลจักรยาน จำนวน 53 คัน สำหรับผู้มาร่วมงานที่ร่วมตอบแบบสอบถาม- เช้าวันที 1 ม.ค.2553 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ เวลา 07.00 น. กทม.จัดพิธีทำบุญตักบาตร นิมนต์พระราชาคณะ 10 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ และพระภิกษุสามเณร จำนวน 180 รูป มาบิณฑบาต ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง - 1 ม.ค.53 เวลา 08.00 น. เริ่มพิธีปล่อยขบวนรถราง "ไหว้พระ 9 วัด" ซึ่ง กทม.ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดรถรางจำนวน 4 คัน อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ต้องการร่วมกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1-9 ม.ค.53 ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00

นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.52- 1 ม.ค.53 เขตพระนครจัดกิจกรรมที่เน้นวิถีไทยในอดีต ณ สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายประกอบด้วย ขบวนวัฒนธรรมวิถีความเป็นไทย ขบวนแห่เครื่องราชบรรณาการ 3 สมัย อันได้แก่ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กิจกรรมลงนามถวายพระพรในการ์ด นิทรรศการ "เรื่องเก่า เล่าด้วยภาพ" บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพในอดีตของเมืองพระนคร กิจกรรมจำลองวิถีชีวิตย้อนยุค กิจกรรมออกร้านสาธิตศิลปหัตถกรรมไทย เวทีเสวนา "เล่าขานตำนานพระนคร" กิจกรรมบนบาทวิถีของศิลปินอิสระ (Street Show) กิจกรรมเต้นร่วมสมัย (B-Boy) ลานวาดภาพศิลปินอิสระ การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังมากมาย ตลอดจนซุ้มเกมต่างๆ การแสดงพลุกลางแม่น้ำเจ้าพระยา การแสดงประติมากรรมโคมไฟอันวิจิตรงดงามกทม.ยังได้ประดับตกแต่งไฟฟ้าบนทางเดิน Sky Walk บริเวณสี่แยกราชประสงค์ และจัดการแสดงประเภท Street Performances ตั้งแต่บริเวณหน้าสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติไปจนถึงมณียาพลาซ่า ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.2552-15 ม.ค.2553 เพื่อส่งความสุขให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. โทร.0-2225-7616ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




ที่มา : http://www.stopdrink.com/index.php?modules=news&type=2&id=2278

Template by:
Free Blog Templates