ปฏิทินเตือนจำ จ้า

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมวันครู 2553 อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

พานไหว้ครูสวยๆ

ทุกๆคนที่เกิดมาต้องมีครู แม้แต่คนที่เป็นครูอยู่ตอนนี้ก็ยังมีครูที่คอยสั่งสอนมาจนถึงทุกวันนี้
ฉะนั้นต้องไม่ลืมพระคุณครูนะคะ
มาดูพานไหว้ครูสวยๆกัน

วันครูแห่งชาติ 2553




ความหมาย

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้


การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น


ที่มา : http://www.wichachart.ac.th/mattayom/News/wankoo.htm
http://blog.eduzones.com/images/blog/jipatar/20090114224041.jpg
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/790/31790/images/11july1.gif

ภาพเทศกาลปีใหม่



ที่มา : http://picasaweb.google.com/neednaja/WXZDXG#

วัวน้อย



ที่มา : http://picasaweb.google.com/neednaja/UntitledAlbum#

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

เทศกาลปีใหม่ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร

งานเฉลิมฉลองปีใหม่ 2553
สสส.และภาคีเครือข่าย ผนึกกำลัง บุกยึดสนามหลวง
ฉลองชัย รณรงค์ในพื้นที่สนามหลวงปลอดจากเหล้า-เบียร์ได้สำเร็จ
ไม่มีลานเบียร์ เครื่องเล่นปาเป้าปิงโกยิงปืนปลอดจากของรางวัลที่เป็นเหล้าเบียร์
ถือเป็นงานเชิงโยบายที่ กทม. ริเริ่มและกำลังจะขยายผลในงานอื่นๆ ทั่วกรุง


งานฉลองเทศกาลปีใหม่ 2553 สนามหลวง 30 ธันวาคม 2552-9 มกราคม 2553 ณ บริเวณท้องสนามหลวงและพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
กทม.จัดงานปีใหม่ชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตร สักการะพระพุทธนวราชบพิตร ที่สนามหลวง พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย นั่งรถรางไหว้พระ 9 วัดกทม.กำหนดจัดงานเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่พี่น้องประชาชนชาว กทม.และนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2552-9 ม.ค.2553 บริเวณท้องสนามหลวงและพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย - 30 ธ.ค.52 -1 ม.ค. 53 อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร จากศาลาว่าการ กทม.ไปประดิษฐานบนมณฑป ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.-1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 52 ตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น. พบกับกิจกรรมการแสดงและมหรสพ ณ บริเวณท้องสนามหลวง ประกอบด้วย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย อาทิ การแสดงโขน ชุดรามราชจักรี และละครนอกจากกรมศิลปากร ลิเกคณะบุญเลิศ ศิษย์หอมหวล ดนตรีลูกทุ่ง ลานการละเล่นย้อนยุคสำหรับเด็ก การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และซุ้มอาหารจาก 50 สำนักงานเขต การจับสลากชิงรางวัลจักรยาน จำนวน 53 คัน สำหรับผู้มาร่วมงานที่ร่วมตอบแบบสอบถาม- เช้าวันที 1 ม.ค.2553 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ เวลา 07.00 น. กทม.จัดพิธีทำบุญตักบาตร นิมนต์พระราชาคณะ 10 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ และพระภิกษุสามเณร จำนวน 180 รูป มาบิณฑบาต ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง - 1 ม.ค.53 เวลา 08.00 น. เริ่มพิธีปล่อยขบวนรถราง "ไหว้พระ 9 วัด" ซึ่ง กทม.ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดรถรางจำนวน 4 คัน อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ต้องการร่วมกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1-9 ม.ค.53 ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00

นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.52- 1 ม.ค.53 เขตพระนครจัดกิจกรรมที่เน้นวิถีไทยในอดีต ณ สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายประกอบด้วย ขบวนวัฒนธรรมวิถีความเป็นไทย ขบวนแห่เครื่องราชบรรณาการ 3 สมัย อันได้แก่ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กิจกรรมลงนามถวายพระพรในการ์ด นิทรรศการ "เรื่องเก่า เล่าด้วยภาพ" บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพในอดีตของเมืองพระนคร กิจกรรมจำลองวิถีชีวิตย้อนยุค กิจกรรมออกร้านสาธิตศิลปหัตถกรรมไทย เวทีเสวนา "เล่าขานตำนานพระนคร" กิจกรรมบนบาทวิถีของศิลปินอิสระ (Street Show) กิจกรรมเต้นร่วมสมัย (B-Boy) ลานวาดภาพศิลปินอิสระ การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังมากมาย ตลอดจนซุ้มเกมต่างๆ การแสดงพลุกลางแม่น้ำเจ้าพระยา การแสดงประติมากรรมโคมไฟอันวิจิตรงดงามกทม.ยังได้ประดับตกแต่งไฟฟ้าบนทางเดิน Sky Walk บริเวณสี่แยกราชประสงค์ และจัดการแสดงประเภท Street Performances ตั้งแต่บริเวณหน้าสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติไปจนถึงมณียาพลาซ่า ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.2552-15 ม.ค.2553 เพื่อส่งความสุขให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. โทร.0-2225-7616ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




ที่มา : http://www.stopdrink.com/index.php?modules=news&type=2&id=2278

ภาพเทศกาลปีใหม่

เทศกาลปีใหม่ในประเทศไทย สยามพารากอน

ประเพณีชาวเหนือ

ภาพประเพณีลอยโคม






ภาพประเพณีแข่งเรือล้านนา



ภาพประเพณีปอยส่างลอง



ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ) ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลาง


ประเพณีแข่งเรือล้านนา
ประเพณีแข่งเรือล้านนา จะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะหลังเทศกาลออกพรรษา ประมาณปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน


ประเพณีบูชาอินทขีล
ประเพณีบูชาอินทขีล เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง


ประเพณีเลี้ยงผี
ประเพณีเลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือน 4 ของไทยภาคกลาง) จนถึงเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว



ประเพณียี่เป็ง
ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำ


ประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว" เป็นประเพณีประจำปีของชาวไต หรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวช


ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
การบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวเหนือและชาวอีสาน คำว่า "ขวัญ" ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน


ประเพณีรดน้ำดำหัว
ประเพณีรดน้ำไหว้ผู้ใหญ่ เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีงานสงการนต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่แสดงออกถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือ และผู้มีพระคุณ


ประเพณีลอยโคม
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย




ประเพณีแห่สลุงหลวง
ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปาง

ที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงาน




ประเพณีบวชลูกแก้ว จ.แม่ฮ่องสอน
ประเพณีของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดขึ้นในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน



ที่มา http://www.kidsquare.com/content/index.php?catid=409

การแต่งกายประจำภาคเหนือ


ภาคเหนือ

มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด)เจ้า (ค่ะ)แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป


การแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า

1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/nort.html

ฟ้อน ภาคเหนือ

เพลงออกศึก (กลองสะบัดชัยโบราณ)



ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=Q3LFQPsQ0Lc&feature=related


ฟ้อนหริภุญชัย


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=0fD27TznyeU&feature=related

ฟ้อนแพน (ภาคเหนือ)


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=VJkVsH_I9xk

ฟ้อนสาวไหม (ภาคเหนือ)



ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=fo_NEyf7EUY&feature=related

อาหารภาคเหนือ



อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม






ที่มา : http://61.19.145.8/student/web42106/509/509-0142/north/north1.htm
http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/images/cul_dish.jpg

ย้อนอดีตประมาณ 200-300ปีกับวิถีชีวิตชาวเหนือของประเทศไทย




ที่มา : http://video.mthai.com/player.php?id=23M1195565351M0

บ้านเรือน ชาวภาคเหนือ


บ้านไทยภาคกลาง
ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลาง เป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำสายหลักๆ อย่าง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำสายอื่นๆ อีกมากมาย ชาวบ้านในภาคกลางจึงผูกพัน และใช้ประโยชน์ต่าง ๆจากแม่น้ำ เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว เกือบจะตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำ ตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียวแบบ เรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบ อ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า โดย หลังคาจะมีลักษณะเป็นทรงสูง เพื่อให้ความ ร้อนจากหลังคาถ่ายเทความร้อนสู่ห้องได้ช้า และทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้รวดเร็ว ไม่มีน้ำขัง วัสดุมุงหลังคามักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้าคา จากแฝก ตองตึง ไม้ที่ตัดเป็น แผ่น เล็กๆ ที่นิยมกันมากคือกระเบื้องดินเผา ซึ่ง เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดของเรือน ขึ้นอยู่ กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้อาศัย ห้องนอน น้อยห้อง ไม่นิยมนอนเตียง เรือนมีใต้ถุนสูง และนิยมปลูกบ้านหันหน้า หรือหันด้านแคบของ บ้านไปทางทิศตะวัน ออกเพื่อรับแดด ในขณะ ที่ด้านยาวก็จะได้รับลม และถ่ายเทอากาศ มี การวางแปลนบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วน ชายคาบ้านมี ลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า“ไขรา หรือ กันสาด” ช่วยป้องกันความร้อนและแสง แดดกล้า โดยเฉพาะแดดเช้าและบ่ายในยาม ที่ดวง ตะวันอ้อมในฤดูหนาว ไม่ให้เผาฝาผนังของบ้านจน ร้อนเกินไป ตัวฝาผนังของบ้านเป็นกรอบที่เรียกว่า “ฝาลูกฟัก” หรือเรียกว่า “ฝาปะกน” สามารถยก ถอดประกอบกันได้ เป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ภาคกลาง ในส่วนของระเบียง มักสร้างขนานไปตามความยาว ของเรือน มีชานเรือนยาวต่อไปจนถึงตัวเรือนและ ห้องน้ำ บริเวณใต้ถุนบ้านนั้นจะยกสูงเพื่อ ป้องกัน น้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายอีก ด้วย นอกจากนี้ใต้ถุนยังสามารถใช้เก็บข้าวของหรือ เลี้ยงสัตว์ ได้อีกด้วย หากมีการขยับขยายครอบครัว ก็จะมีการสร้างเรือนในบริเวณให้มากขึ้นและเชื่อมต่อ กันด้วยชานบ้าน

บ้านไทย นิยมแยก “เรือนครัว หรือ ครัว” ไว้อีกส่วนหนึ่ง กันเขม่าไฟ ควันจากเถ้าถ่าน เพราะสมัยก่อนใช้ไม้มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ หุงหาอาหารวิถีชีวิตของชาวภาคกลางนั้นจะผูกพันอยู่กับสายน้ำ เป็นหลัก ใช้เรือเป็นพาหนะในการไปมาหาสู่ จับจ่าย ซื้อของ ระหว่างกัน เป็นสังคมเกษตรกรรม รับประทาน ข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก การประกอบอาหารของชาว ภาคกลางนั้น ใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่าย เช่นผัก บุ้ง ผักกะเฉด ที่ผลิตได้เองในแต่ละครัวเรือน รับ ประทานน้ำพริก ผักต้ม หรือผักสด ประกอบอาหาร ทุกมื้อ ส่วนการแต่งกาย นิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย สวมใส่กางเกง ขาก๊วย เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าไว้พาด บ่า คาดเอว หรือไว้ใช้อเนกประสงค์ ฝ่ายหญิง จะนุ่ง ผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนยาวหรือ เสื้อเชิ้ต หากมีงานออกสังคม ส่วนใหญ่ไปทำบุญที่วัด ตามคตินิยม ลักษณะ ของครอบครัวอยู่รวมกันเป็น ครอบครัวใหญ่ นิยมปลูกเรือนเพิ่มให้กับสมาชิก ครอบครัว ในพื้นที่รอบรั้วเดียวกัน

ที่มา : http://www.thaiwoodcentral.com/blog/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/

http://i194.photobucket.com/albums/z79/meawtai/wax%20figure%20museum/DSC03309.jpg
http://i266.photobucket.com/albums/ii244/nisanarong/Rachaburi2/Picture100.jpg

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown) แหลมบาลีฮาย จังหวัดชลบุรี วันที่ 25 – 31 ธันวาคม 2552 ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี

กิจกรรม
- กิจกรรมวันคริสต์มาส เปิดไฟประดับถนน
- กิจกรรม Pattaya Countdown 20010
- การออกร้านจากร้านค้าชั้นนำ
- การเล่นเกมส์รับของรางวัล
- การแสดงศิลปะวัฒนธรรมไทย
- การประกวด ร้อง/เต้น
- การเปิดแผ่นของดีเจทั่วฟ้าเมืองไทย
- คอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ และชมการจุดพลุสุดอลังการ
สอบถามรายลtเอียดเพิ่มเติม
ททท. สำนักงานพัทยา โทรศัพท์ 038-428-750 , 038-427-667
เมืองพัทยา โทรศัพท์ 038-253-100








ที่มา : http://thai.tourismthailand.org/festival-event/grand-content-5520.html

Template by:
Free Blog Templates